อาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้นแบ่งเป็น 2 ชนิด ชนิดที่มีเส้นใยมาก ได้แก่ธัญพืชต่าง ๆ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวโพด ฯลฯ และชนิดที่มีเส้นใยน้อยหรือไม่มีเส้นใย เช่น เนื้อสัตว์ ไขมัน และแป้งขัดขาว ฯลฯ โดยอาหารที่มีเส้นใยมาก เมื่อผ่านการย่อยแล้ว จะขับถ่ายทางร่างกายโดยง่าย ในขณะที่อาหารที่มีเส้นใยน้อยเมื่อย่อยแล้วจะจับตัวกันจนเหนียว ทำให้เคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่ด้วยความยากลำบากและมักเกาะติดอยู่กับผนังลำไส้ ไม่ยอมเคลื่อนตัวเข้าสู่ระบบขับถ่ายแบบปกติ ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย จึงมักมีอาการท้องผูก ถ่ายลำบาก แถมสิ่งที่เกาะอยู่ตามผนังลำไส้นี้ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรีย ก่อให้เกิดการบูดเน่า หรือเกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคทางเดินอาหาร เช่น องผูก ลมพิษ ผื่นแพ้ หอบหืด รูมาตอยด์ ฯลฯนอกจากนี้ น้ำดีที่ผลิตออกมาจากตับ เช่น โคลิค แอซิด (Cholic acid), ดีอ๊อกซีโคลิค แอซิด (Deoxycholic acid) เมื่อผ่านไปที่ลำไส้ใหญ่จะถูกแบคทีเรีย เปลี่ยนเป็นสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็งในร่างกายคือ แอพโคลิค แอซิด และ 3-เมทิล-โคแลนทรีน ตามลำดับ ดังนั้น ถ้าสารเหล่านี้อยู่ในร่างกายนานเท่าใด ลำไส้ใหญ่ก็จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งได้สรุปง่าย ๆ ก็คือ ท็อกซินก็คือสารพิษ แต่ไม่ใช่ยาพิษ เป็นพิษที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกายของเราเอง เรากินอะไรผิด ๆ (ส่วนมากก็จะเป็นอาหารดี ๆ อร่อย ๆ) ก็จะเกิดท็อกซินขึ้นในตัวเรา การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษมาก สารพิษก็สะสมอยู่ในตัว การกินยาหลายขนานเป็นประจำ ผลข้างเคียงจากยาเหล่านั้นก็จะกลายเป็นพิษอยู่ในตัวเรา
วันนี้คุณคิดว่าถึงเวลาหรือยัง
ที่จะต้องล้างสารพิษออกจากร่างกายของคุณ
เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเอง ??
อ้างอิงจาก http://www.unicitythai.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น